โปรแกรม
หลักการของเรา
มอนเทสซอรีโปรแกรม
“Our principle concern must be to educate humanity – the human beings of all nations – in order to guide it toward seeking common goals. We must turn back and make the child our principal concern. The efforts of science must be concentrated on him, because he is the source of and the key to the riddles of humanity.” (Education and Peace)
องค์ประกอบหลักของโปรแกรมมอนเทสซอรี ประกอบด้วย
A Prepared Adult – ครูหรือผู้ใหญ่ในห้องผู้มีความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
A Prepared Environment – สิ่งแวดล้อมที่จัดอย่างสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และได้รับการออกแบบมาเพื่อเด็กคละอายุ ประกอบด้วยกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของเด็ก
อายุ 2-3 ปี
ระดับชั้นเตรียมอนุบาล
ช่วงสามปีแรกของชีวิตมนุษย์ถือเป็นรากฐานหรือช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ที่จะพัฒนาศักยภาพเป็นช่วงที่มนุษย์มีการพัฒนาบุคลิกภาพหลัก ทักษะด้านสังคมและคุณค่าความเป็นมนุษย์
การที่สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ระบบมอนเทสซอรีเข้าพัฒนาการมนุษย์จึงช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กและส่งเสริมการรับรู้ถึงการได้รับการยอมรับ ความสามารถในการพึงพาตนเอง และการซึมซับด้านภาษาซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รู้สึกถึงความสามารถและศักยภาพของตนเองห้องเรียนเด็กเล็ก (Toddler) ของเราจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อเด็กเล็กอายุประมาณ 2-3 ปี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการเคลื่อนไหว ภาษาและอิสรภาพการพึ่งพาตนเอง การอยู่ร่วมกับในสังคม
อายุ 3-6 ปี
ระดับชั้นอนุบาล
ดร.มาเรีย มอนเทสซอรี เรียกสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมสำหรับวัย 3-6 ปีนี้ว่า Casa dei Bambini ในภาษาอิตาลีหรือบ้านเด็ก (Children’s House)
เด็กสามขวบที่ได้สร้างรากฐานบุคลิกภาพความเป็นตัวตน เข้ามาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างพรั่งพร้อม เด็กพร้อมที่จะพัฒนาและเสริมความสมบูรณ์ความสามารถของเขา
เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงซึ่งจะส่งเสริมอิสรภาพการพึ่งพาตนเอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง (self-efficacy); การปฏิบัติกับวัตถุรูปธรรมช่วยให้เด็กได้มีประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส และเปิดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือทดลอง (open-ended exploration) เพื่อสร้างความประณีตในการเคลื่อนไหว การรับรู้ด้านประสาทสัมผัส ภาษา และพัฒนาการทางสติปัญญา เด็ก ๆ จะเจริญเติบโตสู่ชั้น 3-6 โดยเด็ก ๆ ได้มีโอกาสที่จะทำตามความสนใจของตนเอง เลือกทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ พัฒนาทักษะด้านสมาธิจดจ่อ และแสดงศักยภาพด้านความเป็นเหตุเป็นผล จินตนาการ และทักษะการเข้าสังคม
สื่อการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการค้นพบและการเรียนรู้แบบนำตนเอง (self-directed learning) ซึ่งสอดคล้องกับช่วงพัฒนาการของเด็กวัย 3-6 ปี
กิจกรรมหมวดชีวิตประจำวันช่วยส่งเสริมทั้งความสามารถในการพึ่งพาตนเองและทักษะทางสังคม กิจกรรมหมวดประสาทรับรู้ช่วยขัดเกลาการรับรู้ทางประสามสัมผัส กิจกรรมหมวดช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาพูด ทักษะการเขียนและทักษะการอ่าน กิจกรรมหมวดคณิตศาสตร์ช่วยส่งเสริมฐานความรู้ความเข้าใจในคอนเซปท์และส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจมนุษย์มากขึ้น เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ ดนตรี และศิลปะผู้ใหญ่ในห้องมีหน้าที่ช่วยแนะแนวทางแก่เด็กในการเดินทาง และช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ที่มีความเป็นปัจเจกชน สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ความร่วมมือต่อสังคม และมีทัศนคติเชิงบวกต่อโลกใบนี้
อายุ 6-9 ปี
ประถมศึกษาตอนต้น
เด็กวัยประถมศึกษาสามารถสร้างบุคลิกภาพจากความช่างสงสัย ความสามารถในการเข้าถึงความเป็นนามธรรมและจิตนาการ ศีลธรรม และการรับรู้ตัวตนทางด้านสังคม พลังงานแรงขับในการค้นคว้าและสำรวจสิ่งรอบตัว ในวัยประถม เด็กจะทำงานเป็นกลุ่มเล็ก คละอายุ ทำงานโครงงานที่มีความหลากหลายที่จะจุดประกายจินตนาการ นำพาสู่การพัฒนาการด้านสติปัญญาและความสามารถในการใช้เหตุผล
การเรียนในชั้นประถมศึกษาสร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกและกลไกการเกิดในเชิงลึก การเรียนรู้เชิงบูรณาการข้ามศาสตร์ต่างแขนง ประกอบด้วย ภูมิศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี และในรูปแบบการปลดปล่อยแสดงออกซึ่งจินตนาการอย่างมีศิลป์ การสำรวจศาสตร์แต่ละแขนงเกิดจากการที่เด็กได้เรียนรู้ที่จะต่อยอดความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนสู่การค้นคว้าความรู้จากชีวิตจริงจากแหล่งข้อมูลในชุมชน เช่น ห้องสมุด หอดูดาว สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ การเรียนรู้ระบบนี้ช่วยให้เด็กรู้สึกเชื่องโยงกับมนุษยชาติ และส่งเสริมความปรารถนาทางธรรมชาติของเด็กที่จะมีส่วนร่วมอุทิศตนต่อโลกใบนี้
สิ่งแวดล้อมในระดับประถมศึกษาจัดเตรียมขึ้นสำหรับเด็กวัย 6-12 ปี อาจแบ่งเป็นสองกลุ่มช่วงอายุ 6-9 และ 9-12 ปี หรืออาจอยู่ร่วมกันทั้ง 6 ปีในสิ่งแวดล้อมเดียว
การเรียนการสอนและกิจกรรม
รู้จักโรงเรียนของเรา
ในห้องเรียนมอนเทสซอรีชั้นปฐมวัยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนคละอายุ 3-6 ปี อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันสอดคล้องกับระนาบพัฒนาการมนุษย์เป็นการจำลองสังคมที่มีความเอื้อเฟื้อและพึ่งพาอาศัยกัน หมวดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดชีวิตประจำวัน หมวดประสาทรับรู้ หมวดภาษา และหมวดคณิตศาสตร์
เด็กมีอิสระในการเลือกชิ้นงานในหมวดงานที่ตนเองสนใจเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed) โดยมีผู้ใหญ่ในห้องทำหน้าที่เป็นกระบวนกรให้ความสนับสนุนการเรียนรู้ หมวดงานในห้องเรียนมอนเทสซอรีประกอบด้วย 4 หมวดดังนี้
ชีวิตประจำวัน
พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ เน้นกระบวนการปฏิบัติที่มีระบบระเบียบ ฝึกควบคุมการเคลื่อนไหว สมาธิมุ่งมั่นในการทำงาน และการพึ่งพาตนเองได้ ทำให้เกิดวัฏจักรการทำงานซึ่งเป็นหัวใจของการที่จะเรียนรู้ในหมวดอื่น ๆ ต่อไป หมวดชีวิตประจำวัน จัดแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มงาน
- กิจกรรมการเคลื่อนไหวเบื้องต้น (Preliminary Exercises)
- กิจกรรมการดูแลตนเอง (Care of Person)
- กิจกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม (Care of Environment)
- กิจกรรมมารยาทและสมบัติผู้ดี (Grace and Courtesy)
- กิจกรรมการควบคุมการเคลื่อนไหว (Control of Movement)
ประสาทสัมผัส
การเรียนรู้หมวดประสาทสัมผัสเปรียบเสมือน “กุญแจสู่โลก” (Key to the world) เชื่อมโยงตัวเด็กสู่โลกและเชื่อมโยงโลกภายนอกสู่ตัวเรา สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ฝึกประสาทรับรู้ คุณลักษณะในการจำแนก แยกแยะ จัดระบบข้อมูล เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนและเที่ยงตรงมากขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดเชิงนามธรรมจากอุปกรณ์รูปธรรม เสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา หมวดงานเสริม ได้แก่ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี กีฬา เป็นต้น หมวดประสาทรับรู้ประกอบด้วยกิจกรรม 6 กลุ่มงาน
- จักษุประสาท (Visual Sense)
- ผัสสะประสาท (Tactile Sense)
- โสตประสาท (Auditory Sense)
- นาสิกประสาท (Olfactory Sense)
- ชิวหะประสาท (Gustatory Sense)
หมวดภาษา
ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เด็กมีความสามารถในการซึมซับและเข้าใจภาษามนุษย์ผ่านการปฏิสัมพันธ์ทางสิ่งแวดล้อม เด็กปฐมวัยมีจิตซึมซับ (Absorbent Mind) และช่วงรับรู้ไว (Sensitive Period) เรื่องภาษา การสอนภาษาในเบื้องต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกในการพูด การรักที่จะเขียน รักที่จะอ่าน หมวดภาษาประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน
- กิจกรรมภาษาพูด (Spoken/Oral Language)
- กิจกรรมภาษาเขียน (Written Language)
- กิจกรรมกลไกการอ่าน (Mechanical Reading)
- กิจกรรมการอ่านอนุกรม (Reading Classification)
- กิจกรรมการอ่านเอาเรื่อง (Comprehensive Reading)
หมวดคณิตศาสตร์
เด็กเรียนรู้งานหมวดคณิตศาสตร์ผ่านสื่ออุปกรณ์รูปธรรมที่จับต้องได้ ผ่านลำดับขั้นตอนในการเรียนที่มีโครงสร้างชัดเจนจากง่ายไปยาก สร้างพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ขั้นนามธรรม การทำงานอย่างมีความสุขจะพัฒนาสู่จิตคณิตศาสตร์ (Mathematics Mind) และรักการเรียนคณิตศาสตร์ การสร้างโจทย์ปัญหานำไปสู่ความต้องการที่จะค้นคว้าหาคำตอบ เพราะคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลข แต่เป็นพื้นฐานของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา กิจกรรมในหมวดงานคณิตศาสตร์ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กลุ่มงานดังนี้ (สมาคมมอนเทสซอริแห่งประเทศไทย, 2564)
- จำนวน 1-10 และ (Number 1-10 and 0)
- ระบบเลขฐานสิบ (Decimal System)
- การนับ 1-1000 และนับต่อเนื่อง (Continuation of Counting)
- การจำขึ้นใจ (Memorization Work)
- หนทางสู่นามธรรม (Passage to Abstraction)